ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
นางปัทมา ชนะสงคราม
ข้อมูลครูผู้สอน
นางปัทมา ชนะสงคราม ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
สอนในรายวิชา
⚗️วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
🧬ชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ขั้นตอนที่ 1.รวมกลุ่มครูที่มีปัญหา/ความต้องการ เดียวกัน
ขั้นตอนที่ 2. ค้นหาปัญหา ความต้องการ
ปัญหาที่กลุ่มเลือก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ํากว่าเกณฑ์ที่กําหนด และนักเรียนขาดความสนใจในการเรียน
เหตุผลที่เลือก เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนวิชาชีววิทยาและการต่อยอดการเรียนรู้ในอนาคต และเจตคติที่มีต่อ
วิชาชีววิทยา
ขั้นตอนที่ 3. ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในรูปแบบ Play and Learn โดยใช้เกมบันไดงู
ขั้นตอนที่ 4. ออกแบบกิจกรรมการแก้ปัญหา
๑. วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๑)และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนโนนสุวรรณพิทยาคม ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๖๓ ในเรื่อง มาตรฐานการเรียนและผลการเรียนรู้ของเนื้อหา เรื่องระบบต่อมไร้ท่อ (ฮอร์โมนสัตว์)
๒. ศึกษาค้นคว้า เรื่องฮอร์โมนสัตว์ จากหนังสือ คู่มือต่างๆ นํามาจัดทําแบบทดสอบจํานวน ๖๐ ข้อ สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญวิชาชีววิทยา จํานวน ๓ ท่าน ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา และดําเนินการแก้ไขปรับปรุง ตามคําแนะนํา ตามความยากง่าย อํานาจจําแนก ให้เหลือเพียง ๔๐ ข้อ จัดทําเป็นแบบทดสอบฉบับสมบูรณ์
๓. ศึกษาเกมประกอบการเรียน จากสื่อออนไลน์ต่างๆ และเลือกรูปแบบเกมบันไดงู เนื่องจากเป็นเกมที่สามารถสอดแทรกเนื้อหาความรู้ในบัตรคําถาม
๔. จัดทําบัตรคําถาม และเฉลยบัตรคําถาม จัดทํากระดานงู จัดหาฝาขวดพลาสติกน้ําดื่มสีต่างๆ (ตัวเดิน) จัดหาลูกเต๋า จัดทําคู่มือการเล่นเกมบันไดงู ใบบันทึกแต้ม จัดทําเกมบันไดงูทั้งหมด ๑๐ ชุด แต่ละชุดใส่ในซอง ซองละ ๑ ชุดนําไปให้ผู้เชี่ยวชาญวิชาชีววิทยา จํานวน ๓ ท่าน (กลุ่มเดิม) ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา เฉลยในบัตรคําถามและความเหมาะสมของอุปกรณ์ของเกม
๕. นําเกมบันไดงู เรื่องฮอร์โมนสัตว์ มาปรับปรุง แก้ไขตามคําแนะนําของผู้เชี่ยวชาญวิชาชีววิทยา
๖. นําเกมบันไดงู เรื่องฮอร์โมนสัตว์ ไปให้นักเรียนที่เรียนวิชาชีววิทยาเก่งที่สุด ๒ คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ เล่นเกมบันไดงูหลังจากเรียน เรื่องฮอร์โมนสัตว์ จบเนื้อหาแล้ว เพื่อให้นักเรียนบอกถึงข้อบกพร่องของเกมบันไดงู เช่น ความหนาบางของกระดาษบัตรคําถาม จํานวนบัตรคําถาม ขนาดตัวอักษรในบัตรคําถามความชัดเจนของอักษร รูปภาพในกระดาษกระดานบันไดงู และผู้สอนสังเกตการเล่นว่ามีข้อบกพร่องตรงไหน ต้องแก้ไขอะไรบ้าง จับเวลาที่เล่นใน ๑ เกม เพื่อนําไปวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท
๗. นําเกมบันไดงู เรื่องฮอร์โมนสัตว์ ไปให้นักเรียนที่เรียนวิชาชีววิทยา ๓ คน (เก่ง ปานกลาง อ่อน)ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ เล่นเกมบันไดงูหลังจากเรียน เรื่องฮอร์โมนสัตว์จบเนื้อหาแล้วเพื่อให้นักเรียนบอกถึงข้อบกพร่องของเกมบันไดงู เช่น ความหนาบางของกระดาษบัตรคําถาม จํานวนบัตรคําถามขนาดตัวอักษรในบัตรคําถาม ความชัดเจนของอักษร รูปภาพในกระดาษกระดานบันไดงู และผู้สอนสังเกตการเล่นว่ามีข้อบกพร่องตรงไหน ต้องแก้ไขอะไรบ้าง จับเวลาที่เล่นใน ๑ เกม เพื่อนําไปวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทอีกครั้ง
๘. นําเกมบันไดงู เรื่องฮอร์โมนสัตว์ ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแผนการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยา ๔เรื่องฮอร์โมนสัตว์กับนักเรียนทั้งห้อง ประมาณ ๓๐ คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖
๙. ให้นักเรียน จากข้อ ๒.๗ ทําแบบทดสอบหลังเรียน เรื่องฮอร์โมนสัตว์
๑๐. บันทึกคะแนนผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นําไปหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละของผู้ผ่านเกณฑ์ แจ้งให้นักเรียนทราบคะแนนจากการทําแบบทดสอบหลังเรียน
๑๑. นําแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องฮอรโมนสัตว์ และเกมบันไดงู เรื่องฮอรโมนสัตว์ ที่ได้ผ่านการทดสอบ (Try out) จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning กับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๗ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องฮอรโมนสัตว์ ตามประเด็นท้าทายของข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗
ขั้นตอนที่ 5. แลกเปลี่ยนเสนอแนะ
ขั้นตอนที่ 6. นำสู่การปฏิบัติ/สังเกตการสอน
ขั้นตอนที่ 7. สะท้อนผล
ขั้นตอนที่ 8. รายงานการดำเนินงาน