ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
นางสาวสุชาดา สมญาติ
ข้อมูลครูผู้สอน
นางสาวสุชาดา สมญาติ ตำแหน่ง ครู ยังไม่มีวิทยฐานะ
สอนในรายวิชาฟิสิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ขั้นตอนที่ 1.รวมกลุ่มครูที่มีปัญหา/ความต้องการ เดียวกัน
ขั้นตอนที่ 2. ค้นหาปัญหา ความต้องการ
ปัญหาที่กลุ่มเลือก ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ํากว่าเกณฑ์ที่กําหนด และนักเรียนขาดความสนใจในการเรียน
เหตุผลที่เลือก เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการต่อยอดการเรียนรู้ในอนาคต และเจตคติที่มีต่อวิชาฟิสิกส์
ขั้นตอนที่ 3. ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้กิจกรรมการทดลอง เรื่องไฟฟ้าสถิต
ขั้นตอนที่ 4. ออกแบบกิจกรรมการแก้ปัญหา
1. ศึกษาสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ และวิเคราะห์เนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ 4 ชั้นมัธยมýึกþาปีที่ 6 จากหลักÿสูตรกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ý.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนโนนสุวรรณพิทยาคม อําเภอโนนสุวรรณจังหวัดบุรีรัมย์ รวมทั้งจากหนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ ฟิิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เล่ม 6 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 เรื่องไฟฟ้าสถิต
2. ศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เสริมด้วยกิจกรรมการทดลอง โดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยüข้องและนําข้อมูลที่ได้üิเคราะห์ และกําหนดขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ และนํามาจัดทําแผนการเรียนรู้ โดยประกอบด้วย สาระ/มาตรฐานการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ (รายวิชาเพิ่มเติม) สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ชิ้นงาน/ภาระงาน (หลักฐาน/ร่องรอยแสดงความรู้) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ การüัดและประเมินผล กิจกรรมเสนอแนะ (ถ้ามี) และบันทึกหลังแผนการจัดการเรียนรู้
3. นําแผนการจัดการเรียนรู้ให้หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พิจารณาตรวจสอบ ส่วนประกอบต่าง ๆ รายละเอียดของแผนการจัดการเรียนรู้ ความเหมาะสมของรูปแบบกิจกรรม ความสอดคล้องในการดําเนินกิจกรรม วิธีการประเมินผล และภาษาที่ใช้เพื่อนําข้อบกพร่องมาแก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ
4. สร้างแบบทดสอบ เรื่องไฟฟ้าถิต ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จากนั้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจํานวน 3 ท่าน เพื่อหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และปรับปรุงแก้ไข
5. นําแผนการจัดการเรียนรู้และแบบทดสอบไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
6. เมื่อสิ้นสุดการสอนตามกําหนดแล้วจึงทําการทดสอบหลังเรียน (Post-test) กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบซึ่งเป็นฉบับเดิม
7. นําผลคะแนนที่ได้จากการตรวจแบบทดสอบ มาวิเคราะห์โดยüิธีการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานต่อไปและแจ้งผลการทดสอบให้นักเรียนรู้เป็นรายบุคคล
ขั้นตอนที่ 5. แลกเปลี่ยนเสนอแนะ
ขั้นตอนที่ 6. นำสู่การปฏิบัติ/สังเกตการสอน
ขั้นตอนที่ 7. สะท้อนผล
ขั้นตอนที่ 8. รายงานการดำเนินงาน