ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
นางสาวระพีพรรณ เหลือสืบชาติ
ข้อมูลครูผู้สอน
นางสาวระพีพรรณ เหลือสืบชาติ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
สอนในรายวิชา
วิชา เทคโนโลยี ว22103 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
วิชา เคมี 2 ว32222 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
วิชา การสื่อสารและการนำเสนอ I30202 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชีวเคมีทางการกีฬา ว30104 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ขั้นตอนที่ 1.รวมกลุ่มครูที่มีปัญหา/ความต้องการ เดียวกัน
ขั้นตอนที่ 2. ค้นหาปัญหา ความต้องการ
ปัญหาที่กลุ่มเลือก
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และนักเรียนขาดความสนใจในการเรียน
เหตุผลที่เลือก
เป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการต่อยอดการเรียนรู้ในอนาคต และเจตคติที่มีต่อวิชาเคมี
ขั้นตอนที่ 3. ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา
การแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมี โดยใช้ชุดกิจกรรมเรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย ร่วมกับการเรียนแบบเชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ขั้นตอนที่ 4. ออกแบบกิจกรรมการแก้ปัญหา
4.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) ในสาระเพิ่มเติมเคมี และผลการเรียนรู้ เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย
4.2 จัดทำโครงร่างของเนื้อหาชุดกิจกรรม เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลายโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ พร้อมเฉลยตัวอย่าง กิจกรรม และแบบฝึกหัด ดังนี้
1) อธิบายความหมายของหน่วยความเข้มข้นของสารละลายในหน่วย ส่วนในล้านส่วน โมลาริตี
2) คำนวณความเข้มข้นของสารละลายในหน่วย ส่วนในล้านส่วน โมลาริตี
3) อธิบายวิธีการและเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นในหน่วยโมลาริตีและปริมาตรตามกำหนด ด้วย
วิธีการเจือจางจากสารละลายเข้มข้น
4) สรุปองค์ความรู้เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลาย
5) ประยุกต์ความรู้เรื่องความเข้มข้นของสารละลาย ในชีวิตประจำวัน
4.3 ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมถึงกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง ของเนื้อหาลำดับการเรียนรู้ การเฉลยกิจกรรมใบงานต่าง ๆ พร้อมทั้งเสนอแนะ เพื่อปรับปรุง แก้ไข
4.4 ครูผู้สอนนำชุดกิจกรรมมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมถึงกลุ่มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
4.5 นำชุดการสอนไปใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ใน วิชาเคมี 2 รหัส ว32222 เพื่อแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องความเข้มข้นของสารละลาย
ขั้นตอนที่ 5. แลกเปลี่ยนเสนอแนะ
ขั้นตอนที่ 6. นำสู่การปฏิบัติ/สังเกตการสอน
ขั้นตอนที่ 7. สะท้อนผล
ขั้นตอนที่ 8. รายงานการดำเนินงาน